วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธืเรียนอย่างมีคุณภาพ


การเขียนรายงาน เขียนวิจัยที่ดี
ทดสอบการเรียน
                ไม่ใครชอบการเขียนมากเท่าไรหรอกครับ โดยเฉพาการเขียนให้เป็นเรื่องเป็นราว เพราะการเขียนแต่ละประโยคแต่ละบรรทัด แต่ละตอน และกว่าจะได้แต่ละหน้า ยากเย็นเหมือนกับเข็นครกขึ้นภูเขาเลยทีเดียว แต่อย่าลืมนะครับว่าการเขียนเป็นหัวใจสำคัญสำหรับวัดความสำเร็จของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียวนะ
                ในการเรียนแต่ละครั้ง มันยากที่เราต้องมานั่งลำดับความคิดเป็นขั้นๆแล้วค่อยบรรจงลงในกระดาษ คนส่วนมากจึงเขียนๆพอสำเร็จก็ถอนหายใจโล่งอกแล้วก็ส่งรายงานให้อาจารย์ตรวจ ก็เสร็จแค่นั้น เท่านั้นใครๆก็ทำได้ แค่คุณเคยคิดบ้างไหมว่าคะแนนจะออกมาอย่างไร ที่เขียนลวกๆนะมันได้คะแนนวิลิศมหาเชียวนะหรือ ไหรอกครับ คุณทราบไหมว่า งานเขียนดีๆของนักเขียนนะ ผ่านการตรวจทานครั้งแล้วครั้งเล่า แก้ไข ขัดเกลาสำนวนเรียบร้อย แล้วค่อยผ่านสายตาเรา ดังนั้นถ้าคุณคิดจะเอาคะแนนละก็ ควรจะทำให้ดีกว่าเขียนแบบลวกๆส่ง ทำเสร็จแล้ว ก็อ่านตรวจทานดูเสียก่อนส่งเอาคะแนน
               อย่าลืมว่าคนอ่านเขาจะคิดอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นคนอ่านไปด้วยและให้คะแนนไปด้วยก็น่าจะให้คนนี้เขาได้อ่านข้อความดีๆ ซักคะแนนสำคัญกับคุณนะ
               การเขียนดีอย่างไร  ในขณะที่คุณใช้ความพยายามรวบรวมเนื้อหา และอธิบายจุดมุ่งหมายในการเขียนของคุณจะถูกพัฒนาเป็นลำดับ และถ้าคุณฝึกการเขียนบ่อยๆ ความคิดของคูณจะไปโลดเลยล่ะ

เลือกหัวข้อเรื่องอย่างไรดี
                ถ้าหัวข้อที่คุณจะเขียนถูกกำหนดมาให้คุณเลย เรื่องหนักในใจการเลือกหัวข้อก็ผ่อนคลายไปแต่คุณจะต้องเลือกเองละ หัวเรื่องอะไรจึงจะดี ผมว่า คุณต้องมีอะไรที่สนใจ และจะทำประโยชน์กับคุณต่อไปได้ด้วยใช่มั้ย เหมือนกับตัวของผมซึ้งทำหน้าที่บรรยายในมหาวิทยาลัยถ้าผมจะเขียนบทความสักหนึ่งเรื่อง ผมมักจะเลือกเรื่องที่ถนัด และมันจะสามารถช่วยส่งเสริมงานหรือการสอนของผมด้วย แม้จะเป็นเรื่องออกจะยากสักหน่อย แต่ก็ไม่เป็นไรถ้าเราได้ประโยชน์มันจะช่วยประหยัดเวลาในการเตรียมสอนของผมอีกด้วย และยิ่งกว่านั้น ถ้าเรื่องที่ผมเลือกสามารถเกี่ยวโยงกับวิชาอื่นๆที่ผมจะรับผิดชอบอยู่ด้วยยิ่งดีใหญ่เลย เพียงแค่ผมพัฒนาปรับและเพิ่มเนื้อหาอีกสักนิดก็เอาไปหากินกับคอร์สอื่นของผมได้ มันดีมากเลยทีเดียว
                การเลือกหัวข้อที่ยากๆและแปลก มันจะเป็นการท้าทายความรู้และความสามารถเลยทีเดียว การเลือกหัวเรื่องดีๆ มันจะไม่ค่อยเหมือนคนอื่น มันจะเป็นตัวแยกคุณออกมาจากนักศึกษาระดับปกติทั่วไปคุณจะโดดเด่นจากกลุ่ม ฉะนั้น อย่าท้อใจในการเลือกหัวเรื่องที่ยากๆเลยเสียละ
การหาความหมายของหัวเรื่อง
               มันไม่ง่ายนักที่จะให้ความหมายที่ถูกต้องของหัวเรื่อง เคยพบบ่อยๆของนักศีกษาให้ความหมายหรือจำกัดความ หัวเรื่องเสียเองบางครั้งก็เป็นคนละเรื่อง เดียวกันไปเลยก็มี
               การให้คำจำกัดความหรือความหมายของหัวเรื่อง จำเป็นมากที่จะถูกต้องจริงๆ ซึ่งที่เราควรทำเพื่อกันพลาดก็คือ ขีดส้นใต้แต่ละคำหรือแต่ละกลุ่มคำเอาไว้กลัวไปค้นหาความหมายในพจนานุกรม ถ้าเป็นศัพท์เฉพาะ ก็ไปหาความหมายในพจนานุกรรมของเรื่องนั้นๆ อย่าลืมตัวไปให้ความหมายโดยคิดเอาเองเสียละ
               ทันทีที่เราได้ความหมายจากพจนานุกรมแล้ว บางทีเราก็นำไปตรวจสอบความถูกต้องกับเอ็นไซโคลปีเดีย หรือบทความในวารสารซึ่งเขียนโดยผู้เชี่ยวชานหรือเจ้าของเรื่องอีกทีเพื่อให้แน่ใจความหมายถูกต้องจริงๆ มันจะช่วยให้คุณเข้าใจงานของคุณมากยิ่งขึ้น จำไว้ว่าหัวเรื่องที่อยู่โดดไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหัวเรื่องอื่นๆ เลยไม่มีหรอก แต่ถ้าเผอิญหัวเรื่องของคุณอยู่ในข่ายนี้ละกำยายามเลี่ยงเสีย อย่าคิดทำต่อไปเลย
วางแผนก่อนเขียน
              ในขั้นนี้แล้วคุณควรตัดสินใจได้ว่า ขอบเขตงานวิจัยหรืองานเขียนขยองคุณจะไปทางงไหนดี เพื่อที่จะให้ตอบคำถามของหัวเรื่องที่คุณตั้งไว้แต่แรก คุณคงต้องอ่านมากเข้าไว้ อ่านทั้งหนังสือและบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องขยองคุณ อ่านจนกว่าจะเข้าใจ สามารถมองเห็นภาพร้อมของเค้าโครงและดรอบที่จะบังคับเนื้อหาเพื่อไม่ให้เลอะเลือนจนกลับมาไม่ถูก จุดมุ่งหมายของคุณในขั้นนี้คือ การทำความเข้าใจหัวเรื่องที่ตั้งไว้อย่างแจ่มแจ้ง สิ่งนี้สำคัญนะ งานเขียนของคุณจะมีคุณค่า ถ้าครูสามารถมองทุกแง่มุมและวิเคราะห์ให้รอบด้านงานวิเคราะห์มองแต่ด้านเดียว ถูกตีกลับมาก็มาก และมันมักจะถูกเก็บไว้บนหิ้งหนังสือเฉยๆ ด้วย คุณคงไม่อยากให้งานวิจัย หรืองานเขียนของคุณเป็นแบบนั้นนะ มันจะวิเศษยิ่งขึ้นถ้าคุณจะแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์สมเหตุสมผลและแปลกใหม่แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในงานของคุณด้วย
                 แล้วเราควรยะใช้เวลาในขั้นนี้นานสักเท่าไหร่ละ คุณคงจะต้องทุ่มเทจริงๆ สักวันหรือสองวัน หรืออาจมากกว่านี้ถ้างานเขียนของคุณใหญ่และสำคัญ แต่จำไว้นะเวลาคุณทุ่มเทนี้ไม่ใช่หมดไปกับการจดโน้ตรายละเอียดต่างๆ มันควรเป็นเวลางานที่คุณอ่านและใช้สมองคิดตีปัญหาจริงๆ โดยเฉพาะการตีความหัวเรื่องและพยายามมองวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆด้วย การเลือกอ่านหนังสือหรือบทความที่ดีชัดเจนแลงะทันสมัย สำคัญมากนะคุณ อย่าเสียเวลากับหมกมุ่นอยู่กับบทความและหนังสือเก่าๆ เลย มันจนะทำให้คุณเก่าและล้าหลังไปด้วย ถ้าคุณหาหนังสือประเภทนี้ไม่เจอ บรรณารักษ์ของงห้องสมุดอาจให้คำแนะนำคุณได้ อย่ามองข้ามความสำคัญของเขยาเสียละ
     คุณต้องอ่านมากๆ และคิดให้ลึกซี้งกว่าใครๆ
 การรวบรวมข้อมูล
              การรวบรวมรายละเอียดของเนื้อหาต่างๆ มันยากนะ ถ้าคุณเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือเลยแต่มาขั้นนี้แล้วคุณเลี่ยงไม่ได้แล้วแหละ มีแต่ต้องสู้เท่านั้น เมื่อคุณได้รายชื่อหนังสือที่จะต้องอ่านจากอาจารย์แล้วอ่านลูกเดี่ยว อ่านให้ทุกเล่ม เท่านั้นยังไม่พอนะถ้าคุณอยากทำงานดีเลิศกว่าใครๆ คุณต้องอ่านพิเศษเพิ่มขึ้น เพื่อให้เนื้อหาของคุณกว้างไกลลึกซึ้งและแปลกออกไปโดยดูจากรายการชื่อหนังสืออ้างอิง ที่อยู่ท้ายเล่ม หรือถ้าคุณขยันและมีเวลา หรือหนังสือเกี่ยวข้องอ่านจะได้แนวคิดดีขึ้นเยอะเลย
              ในขณะที่คุณกำลังอ่านอยู่นะครับ ควรจดโน้ตประเด็นที่สำคัญๆไว้ด้วย ถ้าเป็นบทความในห้องสมุดที่เขารีเสริฟ(ห้ามยืม) ละก้อ ถ่ายเอกสารเก็บไว้เสียแล้วคุณอย่าลืมเขียนที่มาของบทความกำกับไว้ด้วยละ มันน่าส่งสาร ที่หลายคนไม่เคยเข้าไปใช้บริการหนังสือหรือบทความในห้องรีเสริฟเลย
                คุณหัดวางแผนเสียให้ดี แล้วคุณจะพบว่าคุณสามมารถทำอะไรๆได้ทุกอย่างถ้าคุณมีปัญหาก็ลองเดินเข้าไปถามอาจารย์หรือติวเตอร์ดู เขาอาจมีบทความหรือมีหนังสือหรือคำแนะนำดีๆ ให้คุณก็ได้ คุณจะทุ่นแรงไปอีกเยอะ
               คุณรู้ไหม ความแตกต่างของนักศึกษาเกิดจากตรงนี้ครับ นักศึกษาบางกลุ่มไม่เคยอ่านหนังสือนอกเหนือจากที่อาจารย์กำหนดเลย คอยรับแต่ลูกเดี่ยว แม้รายชื่อหนังสือกำหนดให้อ่านก็ไม่เคยเจอ แต่อีกคนพวกหนึ่งอ่านหมดเลยครับแถมยังหาหนังสือที่เกี่ยวข้องโดยดูจากรายชื่อหนังสืออ้างอิงอ่านด้วย คนพวกนี้จะมีความคิดที่แปลกและเป็นตัวของตัวเองได้มากกว่า สังคมของเราต้องการคนแบบนี้แหละครับ
              โดยเฉพาะถ้างานเขียนของคุณ มีความคิดที่แปลกไปกว่าของผู้อื่น และแปลกไปกว่าในหนังสือที่กำหนดให้อ่าน นั้นแสดงว่าคุณก้าวไปอีกหนึ่งขั้น และคุณย่อมอยู่เหนือคนอื่นๆ ฉะนั้นจงวางแผนการงานแต่เดี๋ยวนี้ เพื่อความเป็นเลิศของคุณ
               ในขณะที่คุณจดโน๊ตประเด็นสำคัญๆ อยู่นั้น ต้องแน่ใจว่าคุณจดบรรนานุกรมหนังสือ หรือบทความที่คุณอ่านเรียบร้อยแล้ว จดทุกเล่มและทุกบทความเลย และเขียนให้อยู่ในรูแบบมาตรฐานเดียวกันไว้ละ เวลาที่คุณจดโน๊ต ควรเขียนอยู่ในกระดาษขนาดเดียวกัน หรือเขียนลงบนแผ่นการ์ด และอย่าลืมใส่หมายเลขหน้าไว้ด้วย ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เขียนโดยผู้แต่งคนเดียวกันหลายเล่ม ก็ให้ลงตัวอักษร ( a,b,c,..) หรือหมายเลข(1,2,3,…)เรียงตามลำดับปี พ.ศ. ก่อนหลังไว้ จะได้ ไม่สับสน และในแต่ละแผ่น หรือแต่ละหนน้าให้ลงชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือปี พ.ศ. หน้าหนังสือ และเลขเรียกหนังสือไว้ด้วย จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ถ้าคุณจะโน๊ตแหล่งที่มาของหนังสือหรือบทความไว้ด้วย เช่น จากห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ จากสำนักวิทยาบริการห้องอ้างอิง เวลากลับไปค้นหาจะได้สะดวก
                เวลาจดโน้ต  ถ้าคุณหลอกประโยคหรือข้อความ ของเขามาใส่เครื่องหมายคำพูด (โควเทชั่น) ไว้ด้วย วิธีเขียน ให้จุดข้างหน้า 3 จุดแล้วเขียนข้อความ เมื่อเขียนจบก็ใส่ 3 จุด และตามด้วยเครื่องหมายอัญประกาศปิด ดังตัวอย่าง “ข้อความ” เป็นต้น บทความหรืองานเขียนของคุณจะดีมากยิ่งขึ้น ถ้าประโยคที่คุณลอกเขามา ไปได้ดีกับคำอธิบายของคุณ แต่ถ้าประโยคที่ลอกเขามาเป็นคนละเรื่องกับที่คุณพยายามอธิบาย คงไม่เท่ห์นัก
               กระดาษจดโน้ตก็สำคัญนะคุณ ควรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สะดวกในการเก็บเข้าแฟ้ม คุณอาจจะใช้กระดาษการ์ด (ลงทุนเสียหน่อย) เวลาเขียนใช้ด้านเดียวอย่าขี้เหนียวกระดาษ เพราะมันจะสะดวกเมื่อคุณนำเนื้อหามาเรียงลำดับเรื่อง ไม่ต้องพลิกไปมาเวลาอ่านและคุณอาจมีอะไรเพิ่มเติม หรือคำแนะนำที่จะโยงถึงเรื่องอื่นๆ คุณก็เขียนใส่ด้านหลังแผ่นการ์ดของคุณได้เลย
              ข้อสำคัญ ในแผ่นการ์ดแต่ละแผ่นควรมีเรื่องหรือประเด็นสำคัญเพียงอันเดียว อย่าใส่เข้ามาหลายประเด็นเดี๋ยวจะยุ่งเวลาเรียงลำดับหลังจากที่รวบรวมเนื้อหาดีแล้ว ใส่หมายเลขหน้าสารบัญ เหนือเค้าโครงคร่าวๆ ไว้เสีย และถ่ายเอกสารไว้อีกชุด กันหายแล้วจัดเรียงเก็บเข้าแฟ้มไว้
             ถ้าคุณรวบรวมโน้ตอย่างที่กล่าวมาแล้ว รับรองว่าคุณจะไม่มีปัญหาในการทำงานเลย มันช่วยคุณได้ และจะทำให้งานของคุณสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ฝึกหัดตัวเองให้เป็นระเบียบเสียแต่เนิ่นๆแล้วคุณจะพบว่า การเขียนนะมันไม่ยากอย่างที่คุณคิดหรอก
วางแผนการเขียน
              ขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดเป็นหัวใจของงานเชียวนะ แม้ว่าคุณจะเขียนได้วิจิตรพิสดารเพียงใด งานหรืองานวิจัยของคุณจะไม่คุ้มค่าถ้าวิธีการคิดของคุณไม่สมเหตุสมผลไม่สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ และขาดความทะเยอทะยาน คุณต้องตั้งเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ มันจะเป็นแรงผลักดันให้คุณ ให้งานของคุณประสบความสำเร็จ หรือล้มเลวล้ำหน้า หรือล้าหลังผู้อื่นเลยทีเดียว
                 ก่อนลงมือเขียนทำอย่างไรดี  อ่านก่อนนะครับอ่านโน๊ตที่รวบรวมมาแล้ว2 รอบ ในขณะที่ต้องคิดใคร่ครวญไปด้วยว่า หัวเรื่องถามอะไร จงอย่ายืดความคิดความเข้าใจของงเราเป็นหลักมันไม่เป็นสากลนักหรอก พูดง่ายๆ คืออย่าเข้าข้างตัวเอง ในการตอบคำถาม หรือให้ความหมายของงหัวเรื่อง ต้องเผื่อใจไว้เสมอ เปิดใจให้กว้าง ฟังและคิดตามคำแนะนำข้อคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง
                หลังจากอ่านจนช่ำชอง พอลำดับเรื่องและเหตุการณ์ได้แล้วก็มาถึงตอนเขียนกันบ้างละ เริ่มต้นการเขียนโดยยึดหัวเรื่องหรือประเด็นหลักของเรื่อง ต่อจากนั้นคุณก็แตกหัวเรื่อง หรือประเด็นเป็นหัวข้อย่อยๆ เพื่อสะดวกในดารคิดและเขียน อย่าลืมเขียนคำอธิบายจุดประสงค์หลักและความหมายของแต่ละหัวข้อย่อยเสียก่อน พร้อมทั้งหาเหตุผล ข้ออ้างอิงและตัวอย่างประกอบการอธิบายเพื่อให้งานของคุณชัดเจน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ ต้องใช้ความพยายามมากให้คุณนึกเสียว่านี่เป็นวิชาการไม่ใช่หนังสืออ่านเล่น ไม่ต้องแต่งเติมสีสัน และสำนวนมากเกินไป
              ในบทแรกหรือบทนำนี้ ขอททบทวนอีกครั้งว่าคุณต้องตอบคำถามของหัวเรื่องของคุณให้ได้ว่า ทำไมคุณอ้างอิงมาสนับสนุนให้หนักแน่น ผมขอเน้นอีกครั้งว่า คุณจะควรมองคิดให้รอบด้าน ถกปัญหาทางด้านบวกและด้านลบ พร้อมทั้งพยายามยกเหตุผลและหลักฐานพยานต่างๆ มาประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม จากนั้นอย่าลืมสอดใส่ความคิดเห็นหรือจุดยืนของคุณพร้อมทั้งเหตุผลยืนยันความคิดของคุณด้วย ทำได้ไหมครับ เท่านี้งานของคุณก็ออกมาเลิศกว่าใครๆ
               พอมาถึงตอนสรุปนักศึกษาก็ยิ้มได้แล้วครับ ทุกๆ คนก็เขียนได้ แต่มีคนน้อยเขียนสรุปได้ดี สรุปที่ดีช้อยส่งเสริมงานเขียนของมากเลยทีเดียว เราใส่อะไรบ้างในบทสรุป จะต้องเขียนประเด็นหลักๆ ทุกประเด็น ของบทแรกและบทต่อๆ มาทุกบททุกตอนละครับ น่าแปลกกที่พบว่านักศึกษาหลายคนที่พยายามจะตอบหรือแนะนำเรื่องในท้ายบทนี้ ผมพบบ่อยๆ เลย อย่าลืมครับ สรุปก็คือเรื่องที่เราเล่ามาแล้วทั้งหมด แต่เล่าอย่างสั้น ๆ  ไม่ใช่การเขียนอธิบายเพิ่มเติมหรือมาแสดงความคิดเห็นอย่างที่เคยเข้าใจ แน่นอนครับว่าสรุปจะต้องมีความสัมพันธ์กับหัวเรื่อง งานเขียนที่ดีอ่านแค่สรุปก็สามารถตอบคำถามหัวเรื่องและเข้าเนื้อเรื่องได้ตลอด อย่างนี้คนอ่านต้องชอบแน่ ดีกว่าเขียนคนละที กระโดดไปกระโดดมาหาสาระไม่ได้
 การเรียบเรียงโน๊ต
               ความยุ่งยากอันหนึ่งของการเขียนก็คือ การเรียงโน๊ตจะรู้ได้อย่างไรว่าโน๊ตที่เราจดอันไหนจะด้วยกัน อันไหนจะอยู่ก่อนหลัง และข้อความไหนจะเอาไปอ้างอิงงานเขียนแม้เราจะรวบรวมโน๊ตมาอย่างดีแล้ว การถึงเอามาใช้เป็นระบบก็ดูจะมีปัญหาทุกขั้นตอน ในขณะที่หลายคนคิดว่ามันเป็นเรื่องกล้วย ๆ
                ผมจะบอกเคล็ดลับวิธีทำให้ เมื่อคุณรวบรวมโน้ตแล้วกลับมาอ่านโน้ตเพื่อหาจุดหรือประเด็นสำคัญ ๆ ขอลงทุกแผ่นและใส่หมายเลขกำกับไว้ทุกประเด็น บางประเด็นอาจเล็กเป็นพียงแค่ประโยค บางประเด็นก็เป็นพารากราฟ กว่าจะใส่หมายเลขครบทุกแผ่นก็ใช้เวลามากพอดู อาจถึงหมายเลขที่ 500 หรือมากกว่าก็ได้ ในแต่ละแผ่นก็อาจจะมีหลายจุดที่สำคัญเมื่อใส่หมายเลขเสร็จแล้ว ก็กลับมาที่โน้ตแผ่นแรกอีกตรวจสอบดูว่าหมายเลขใด 1,2,3,…. สัมพันธ์กับงานเขียนของเราตอนไหน จัดกลุ่มเนื้อหาไว้ให้เป็นหมวดเดียวกัน เช่นหมายเลข 1, 15, 20,… อยู่ในบทนำเป็นต้น ตรวจสอบโครงสร้างงานเขียนของคุณกับโน๊ตที่รวบรวมไปเรื่อยๆ จนคุณใส่หมายเลขทุกเบอร์บนงานเขียนได้ ต้องให้แน่ใจนะครับว่าคุณจัดกลุ่มมันได้จริงๆ ไม่ลำเอียง
      ตอนนี้คุณก็ได้ใอเดีย และเริ่มมองเห็นรูปร่างของงานคุณแล้วล่ะ ลุยต่อไปเลย
การเขียนดร๊าฟแรก
              หลังจากที่ได้วางแผนการเขียนและเรียบเรียงลำดับเนื้อเรื่องแล้วทีนี้ เราก็พร้อมที่จะลงมือเขียนบทแรกหรือตอนแรกได้เลือกโน๊ตที่คุณจัดกลุ่มไว้และแยกไว้แล้วว่าเรื่องไหนจะอยู่บทแรกหรือบทที่2 หรือบทต่อๆเอาเฉพาะตอนแรกก่อนมาเรียงลำดับความสัมพันธ์กัน
                ในขั้นนี้คุณอาจจะใช้ปากกาสีเครื่องหมายไว้ในแต่ละแห่ง แต่ละแผ่นที่ข้อความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ระวังเนื้อหาจะกระโดดไปกระโดดมา เรียงลำดับโน้ตอย่างมีระบบและโอกาสที่เนื้อหาจะกระโดดไปมาหรือซ้ำซ้อนมีน้อยมาก บางทีกว่าคุณจะทำเครื่องหมายจนครบหมดทุกตอน ปากกาสีของคุณอาจจะใช้จนครบหมดทุกสีหรือสีไม่พอก็ได้ ถ้าอย่างนั้นต้องทำเครื่องหมายให้ต่างกันเข้าไว้
                 เวลาเขียนจงหลีกเลี่ยงสำนวนและสิ่งไร้สาระ ให้นึกเสียว่ามันเป็นวิชาการไม่ใช่หนังสือววรรณคดี ยิ่งคุณเขียนยาดยืดยาวเฟื้อยมากเท่าใด ก็ยิ่งส่อว่าไม่เอาไหนเลย เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงสำคัญที่สุดสำหรับงานวิจัย หรือบทความ คนที่สำนวนดีๆ ขอทุนวิจัยไม่ได้ก็มีถมไป
                 ในการเขียนแต่ละครั้งควรทำให้เสร็จเป็นเรื่องหรือจบตอนไปเลย เดี๋ยวเขียนเดี๋ยวลุกไปทำธุระแล้วกลับมาเขียนอีกเสียเวลาเปล่ากว่าจะต่อความคิดของเราได้ก็ต้องใช้เวลา และเนื้อหาจะไม่ต่อเนื่องกันด้วย เมื่อคุณเขียนจบตอนกลับมาอ่านอีกครั้งทันนทีทันใดเลย แก้ไขขัดเกลา และเพิ่มเติมเสียให้สมบูรณ์ คุณจะลอกหรือพิมพ์ใหม่อีกครั้งเพื่อให้ดูดีก็ไม่เสียอะไร ดีเสียอีกเพราะในขณะที่ลอกอาจมีไอเดียใหม่ ๆ ที่แวบเข้ามาอีก เมื่อพิมพ์หรือเขียนเสร็จแล้วคราวนี้คุณก็หยุดพัก 2-3 วัน หรือเป็นอาทิตย์ ถ้าคุณมีเวลาพอหลังจากนั้นกลับมาอ่านอีกครั้งก่อนเริ่มบทต่อไป แล้วคุณจะปะหลาดใจตนเอง ว่าทำได้ไงน่ะ มันดีมาก มันแย่มาก อะไรทำนองนี้
                งานเขียนบทแรกของคุณเสร็จแล้ว แต่ไม่สมบูรณ์หมั่นอ่านทบทวนตรวจทานบ่อย ๆ แล้วคุณจะพบว่าทุกครั้งที่คุณอ่านต้องมีแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ตรวจเช็คดูข้อความสมเหตุสมผลดีหรือไม่ ต้องการหลักฐานอ้างอิงมาสนับสนุนหรือไม่
                เมื่อไหร่ถึงจะมั่นใจว่า งานเขียนใช้การได้แล้ว เมื่อแก้ไขจนคิดว่าพอใจแล้ว อ่านอีกครั้ง อ่านให้เสียงดังเหมือนกับพวกอ่านข่าวเลย ถ้าเนื้อหาคุณดีแล้วคุณจะอ่านไม่สะดุด แต่ถ้าอ่านไม่สะดุดไป แสดงว่าคุณขัดเกลาคำพูด และเหตุผลเสียหน่อย แล้วงานเขียนของคุณจะทำได้อย่างมืออาชีพเลยล่ะ



แปลและเรียบเรียงโดย: รศ.อุรวดี รุจิเกียรติกำจร